เข้าสู่ระบบ
VRP BROKER
ผู้เชี่ยวชาญด้านประกันสุขภาพออนไลน์
สินค้าประกันภัย
ข่าวและกิจกรรม
บริการลูกค้า
พันธมิตรธุรกิจ
รู้จักเรา
ร่วมงานกับเรา
ติดต่อเรา
สมัครสมาชิกฟรี เข้าสู่ระบบ
นโยบายส่วนบุคคล

ประกันแบบไหนใช้ลดหย่อนภาษีได้บ้างและเงื่อนไขที่ต้องรู้

เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี แต่ไม่ใช่เบี้ยประกันชีวิตทุกแบบจะนำมาลดหย่อนได้ครับ เงื่อนไขต้องตรงกับที่สรรพกรกาหนดด้วย ซึ่งเบี้ยประกันที่สรรพกรให้ลดหย่อน ภาษีมี 2 ประเภท 1. เบี้ยประกันชีวิตและประกันสุขภาพ สามารถใช้เบี้ยหักลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000บาท ประกันที่เข้าข่ายลดหย่อนนี้คือ - เบี้ยประกันชีวิตหลัก - เบี้ยประกันสุขภาพ - เบี้ยประกันอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลทุพพลภาพการสูญเสียอวัยวะและการแตกหักของกระดูกและรวมถึงการ - ประกันภัยโรคร้ายแรง - เบี้ยประกันภัยดูแลระยะยาว (เบี้ยประกันในส่วนนี้ลดหย่อนได้ไม่เกิน25,000บาท) ทั้งนี้ หากเบี้ยประกันภัยทำประกันก่อน 1 มกราคม 2552 สามารถนำเบี้ยประกันภัยทั้งหมด(เบี้ยประกันชีวิตหลักและเบี้ยประกันคุ้มครองเพิ่มเติม)ไปลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน100,000บาท 2. ประกันสาหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ(เฉพาะ) สามารถใช้ลดหย่อนภาษี 15% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน200,000 บาท ต่อปี โดยต้องเป็นประกันภัยที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป (ซึ่งเงินก้อนนี้เมื่อนำไปรวมกับเงินกองทุนสารองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ต้องไม่เกิน 500,000 บาท) เงื่อนไขที่สรรพกรกาหนดคือ 1. กรมธรรม์ประกันชีวิตที่กาหนดระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่10ปีขึ้นไปเท่านั้น 2. ประกันชีวิตต้องทำกับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักรเท่านั้น จะเห็นได้ว่าเราสามารถที่จะนำเบี้ยประกันภัยลดหย่อนได้สูงสุดถึง 3 แสนบาทพวกเราที่ทำประกันอย่าลืมนะครับที่จะต้องนำเบี้ยประกันภัยไปลดหย่อนเพื่อรักษาสิทธิ์ของเรานะครับใครที่มีรายได้มากสามารถที่จะได้เงินคืนมากพอกัน ทั้งนี้ผมได้แนบประกาศของกรมสรรพากรถ้าผู้ใดมีใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูจากจากประกาศตามที่ผมได้เขียนไว้ข้างล่างนี้ด้วยนะครับวันนี้วันนี้ก็ขอให้ข้อมูลเพียงเท่านี้ก่อนหวังว่าทุกคนไม่ลืมที่จะนำเบี้ยประกันภัยที่เราสะสมไว้เพื่อซื้อความคุ้มครองนำไปลดหย่อนภาษีของตัวเองด้วยนะครับวันนี้ขอแค่นี้ก่อนครับ หมายเหตุ: 1)ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 162, 172, 194 และ 261 2)กฎเกณฑ์ใหม่ของกรมสรรพากร สาหรับปีภาษี 2558 เป็นต้นไป การลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญจะคิดจากเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษี ซึ่งไม่สามารถนำเงินที่ได้รับการยกเว้นภาษีมารวมเป็นเงินได้เพื่อใช้สิทธินี้ เช่นกาไรที่ได้รับจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เงินรางวัลจากสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น3)กรณีที่พ่อแม่ทำประกันชีวิตให้ลูก โดยพ่อแม่เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัย พ่อแม่ไม่สำมำรถเอำเงินค่ำเบี้ยประกันชีวิตไปลดหย่อนภำษีได้

แชร์ -

เบี้ยประกันชีวิตสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี แต่ไม่ใช่เบี้ยประกันชีวิตทุกแบบจะนำมาลดหย่อนได้ครับ เงื่อนไขต้องตรงกับที่สรรพกรกาหนดด้วย ซึ่งเบี้ยประกันที่สรรพกรให้ลดหย่อน ภาษีมี 2 ประเภท

1. เบี้ยประกันชีวิตและประกันสุขภาพ สามารถใช้เบี้ยหักลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000บาท ประกันที่เข้าข่ายลดหย่อนนี้คือ
- เบี้ยประกันชีวิตหลัก
- เบี้ยประกันสุขภาพ
- เบี้ยประกันอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลทุพพลภาพการสูญเสียอวัยวะและการแตกหักของกระดูกและรวมถึงการ
- ประกันภัยโรคร้ายแรง
- เบี้ยประกันภัยดูแลระยะยาว (เบี้ยประกันในส่วนนี้ลดหย่อนได้ไม่เกิน25,000บาท)
ทั้งนี้ หากเบี้ยประกันภัยทำประกันก่อน 1 มกราคม 2552 สามารถนำเบี้ยประกันภัยทั้งหมด(เบี้ยประกันชีวิตหลักและเบี้ยประกันคุ้มครองเพิ่มเติม)ไปลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน100,000บาท

2. ประกันสาหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ(เฉพาะ) สามารถใช้ลดหย่อนภาษี 15% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน200,000 บาท ต่อปี โดยต้องเป็นประกันภัยที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป (ซึ่งเงินก้อนนี้เมื่อนำไปรวมกับเงินกองทุนสารองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ต้องไม่เกิน 500,000 บาท)
เงื่อนไขที่สรรพกรกาหนดคือ
1. กรมธรรม์ประกันชีวิตที่กาหนดระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่10ปีขึ้นไปเท่านั้น
2. ประกันชีวิตต้องทำกับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักรเท่านั้น

จะเห็นได้ว่าเราสามารถที่จะนำเบี้ยประกันภัยลดหย่อนได้สูงสุดถึง 3 แสนบาทพวกเราที่ทำประกันอย่าลืมนะครับที่จะต้องนำเบี้ยประกันภัยไปลดหย่อนเพื่อรักษาสิทธิ์ของเรานะครับใครที่มีรายได้มากสามารถที่จะได้เงินคืนมากพอกัน ทั้งนี้ผมได้แนบประกาศของกรมสรรพากรถ้าผู้ใดมีใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูจากจากประกาศตามที่ผมได้เขียนไว้ข้างล่างนี้ด้วยนะครับวันนี้วันนี้ก็ขอให้ข้อมูลเพียงเท่านี้ก่อนหวังว่าทุกคนไม่ลืมที่จะนำเบี้ยประกันภัยที่เราสะสมไว้เพื่อซื้อความคุ้มครองนำไปลดหย่อนภาษีของตัวเองด้วยนะครับวันนี้ขอแค่นี้ก่อนครับ

หมายเหตุ: 1)ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 162, 172, 194 และ 261 2)กฎเกณฑ์ใหม่ของกรมสรรพากร สาหรับปีภาษี 2558 เป็นต้นไป การลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญจะคิดจากเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษี ซึ่งไม่สามารถนำเงินที่ได้รับการยกเว้นภาษีมารวมเป็นเงินได้เพื่อใช้สิทธินี้ เช่นกาไรที่ได้รับจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เงินรางวัลจากสลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น3)กรณีที่พ่อแม่ทำประกันชีวิตให้ลูก โดยพ่อแม่เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัย พ่อแม่ไม่สำมำรถเอำเงินค่ำเบี้ยประกันชีวิตไปลดหย่อนภำษีได้
แชร์ -

บทความยอดนิยม

เกี่ยวกับ

บริษัท วีอาร์พี โบรกเกอร์ จำกัด (VRP BROKER) จัดตั้งขึ้นเพื่อให้คำแนะนำสินค้าประกันภัย (ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย) โดยดำเนินธุรกิจที่ปรึกษาด้านประกันวินาศภัยและประกันชีวิตทุกชนิด

ซึ่งเรามีความเชี่ยวชาญด้านประกันภัยสุขภาพโดยเฉพาะและมีเครือข่ายโรงพยาบาลทั่วประเทศ ที่จะดูแลอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าของเราอย่างทั่วถึง

ใบอนุญาต

ทะเบียนพาณิชย์
เลขที่: 0105564177451

นายหน้าประกันชีวิต:
เลขที่: ช00002/2565

นายหน้าประกันวินาศภัย:
เลขที่: ว00003/2565

ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) www.oic.or.th

ติดต่อ

เลขที่ 320 อาคารตั้งฮั่วปัก ห้องเลขที่ 4 บี ชั้น 4 ถนนพระราม 4 แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

Phone: 094-791-1119
Line ID: @vrpbroker
Facebook: VRPBrokerOfficial
Email: vrpbroker2021@gmail.com
Tiktok: @vrpbroker

วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.30 - 17.00 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

สำนักงานใหญ่

Copyrights © 2025 All Rights Reserved. VRPBROKER.CO.TH Version 1.3. Designed by webbeedev.com +87,715 Times.